วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า anthropophobia


ท่านทราบว่าคำ   tomos, tom, tomy  แปลว่า  ตัด    จากคำ   atom  ที่มีศัพท์บัญญัตว่า   ปรมาณู    แต่เรามักจะพูดทับศัพท์ว่า   อะตอม     ซึ่งศัพท์ตัวนี้เป็นภาษากรีก     τομος   (atomos)     แปลว่า    ตัดไม่ได้”   แล้วเราได้ศัพท์        acrotomy    ที่แปลว่า    ผ่าแยกศพ       ดังนั้น     anthropotomy   จึงแปลตามตัวว่า    ตัดมนุษย์   หมายถึงการผ่าตัดคน เพื่อการรักษา  หรือศึกษา  รวมถึงการผ่าตัดศพด้วย    ท่านทราบว่าคำ  philo, phil,  phile   แปลว่า   รั   จากคำ   φιλω  (philo ฟิโล)   ที่เป็นภาษากรีก  แปลว่า   รัก    จากนั้นท่านก็ได้ศัพท์   bibliophil  รักหนังสือ คือ   รักการอ่าน,     agrophil   รักสนาม,    รักที่แจ้ง,    รักการเพราะปลูก, plutophil   รักเงินตรา,        necrophil   รักศพ     คือ   คนจิตปลาด   ชอบแอบไปเสพเมถุนกับศพผู้หญิง     ดังนั้น   philanthropy   จึงแปลว่า ความรักเพื่อนมนุษย์    ด้วยกัน     philanthropist   คือ  “คนรักเพื่อนมนุษย์”  ด้วยกัน  คือ คนมีจิตเมตตากรุณา ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน



 โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า anthropophobia



anthropophobia




มีศัพท์ภาษากรีกอยู่คำหนึ่ง     คือ     νθρωπος     (anthropos 
อันทรอพอส)     แปลว่า   มนุษย์   (ทั้งผู้ชายและผู้หญิง)     บางครั้งเราหลง
คำนี้กับคำ  νδρω (andro)   ที่แปลว่า   คนผู้ชาย   anthropophobia  จึงแปลว่า เกลียดหรือกลัวมนุษย์  อันนี้ไม่ใช่สัตว์เกลียดหรือกลัวมนุษย์    แต่มนุษย์บางคนที่เป็นโรคนี้  เกลียดหรือกลัวมนุษย์ด้วยกันเอง                     anthropos      จะปรากฏรูปเป็น       antropo 
ในภาษาอังกฤษ        ท่านลองนั่งตรึกตรองสักครู่     แล้วท่านก็จะได้ศัพท์
อีกหลายคำจากศัพท์ตัวนี้    ท่านทราบแล้วว่า   logy  แปลว่า ศาสตร์” หรือ “วิทยา     anthropology   จึงแปลว่า   มนุษยวิทยา   ท่านทราบแล้วว่า 
phagy     แปลว่า     การกิน           phagist    แปลว่า    ผู้กิน 
จากศัพท์    hippophagy   ที่แปลว่า  การกินเนื้อม้า”, hippophagist      แปลว่า    ผู้กินเนื้อม้า”,                  phagomania  
แปลว่า   ผู้คลั่งไคล้การกิน   ดังนั้น     anthropophagy     ก็แปลว่า การกินเนื้อมนุษย์     anthropophagist   ก็แปลว่า   ผู้กินเนื้อมนุษย์


 โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า androphobia


androphobia



ประการแรกขอให้ทำความรู้จักกับคำ andro เสียก่อน    คำภาษากรีก  νδρο  (andro อันดรอ) แปลว่า “ผู้ชาย” ซึ่งคำนี้มีใช้ในภาษาอังกฤษมาก         เรารู้จักศัพท์      hydrogen   ก๊าซไฮโดรเจน       ที่แปลตามตัวว่า 
“ทำให้เกิดน้ำ”   ฉะนั้น  androgen  ก็ต้องแปลตามตัวว่า  “ทำให้เกิดผู้ชาย” คือ “ฮอร์โมนของผู้ชาย”     เรารู้จักศัพท์ poly- ซึ่งเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่มาจากภาษากรีก   πολύ  (polu   พอ ลู)   ที่แปลว่า  “มาก”    ซึ่งมีศัพท์
ที่เราคุ้นอยู่มากมายหลายสิบคำ   แต่ที่คุ้นอยู่มากที่สุดน่าจะเป็น polytechnic แปลตามตัวเอาง่ายๆ ว่า “มีเทคนิคมาก” ก็แล้วกัน  เมื่อ poly   แปลว่า  “มาก”   คำ  polyandro   ที่เปลี่ยนเป็น  polyandry 
ก็แปลตามตัวว่า   “ผู้ชายมาก”  คือ  “มากด้วยผู้ชาย”   หมายถึง   “ลัทธิที่ผู้หญิง
มีสามี(มีผู้ชาย) หลายคนในเวลาเดียวกัน”  และผู้หญิงที่ปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า polyandrist     เมื่อ   andro   แปลว่า   “ผู้ชาย”     androphobia 
ก็แปลว่า   “กลัวผู้ชาย”      แต่หนักไปในทาง   “เกลียดผู้ชาย”       ซึ่งมีผู้หญิง
มากเหมือนกันที่เป็นโรคนี้




โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ



วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า algophobia


algophobia




ที่ผ่านมา  ตอนที่เขียนถึงศัพท์   nostomania   ที่แปลว่า  “บ้าหรือคลั่งไคล้ที่จะกลับบ้าน” และเปรียบเทียบศัพท์ตัวนี้ กับศัพท์อีกตัวหนึ่ง คือ nostalgia     ที่แปลว่า    “โรคอยากกลับบ้าน”      โดยที่ได้ให้คำ   algia 
ที่เป็นคำมาจากภาษากรีก      λγος     (algos    อาล กอส)        แปลว่า 
โรค, ความเจ็บปวด” (1.3)     และคำภาษากรีก   λγος    (algos)   คำนี้ที่แปลว่า “โรค, ความเจ็บปวด” กลายรูปเป็น   algo ในภาษาอังกฤษ algophobia       จึงแปลว่า    กลัวโรค,   กลัวความเจ็บปวด    ผู้ที่ป่วย
เป็นโรคนี้     เวลาไม่สบายก็ไม่กล้าไปหาหมอ        เพราะกลัวหมอจะจับฉีดยา
แล้วจะเจ็บ   เวลาล้มลงเท้าแพลง    ก็ไม่กล้าให้หมอนวดให้   เพราะกลัวเจ็บ เวลาฟันผุ  จนต้องถอน ก็ไม่กล้าให้ทันตแพทย์ถอนให้ เพราะกลัวเจ็บ    ขอให้สังเกตุไว้ด้วยว่า คำภาษากรีก algos ที่แปลว่า “โรค, ความเจ็บปวด” เมื่อมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยสมาสกับคำอื่น ถ้าอยู่หน้าคำจะเป็น algo ดังคำนี้ algophobia ถ้าอยู่หลังคำจะเป็น algia เช่น nostalgia โรคอยากกลับบ้าน


โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า ailurophobia

ขอให้สังเกตศัพท์ที่คล้ายกัน 2 ตัวนี้
           1.  agomania   แปลตามตัวว่า    “บ้าหรือคลั่งไคล้สนาม”   หมายถึงชอบอยู่ในที่โล่ง  ที่แจ้ง  มาจากคำกรีก   agros  ที่แปลว่า  “สนาม”
  2.  agoraphobia  แปลตามตัวว่า  “กลัวที่ๆ มีคนมากมาย”  มาจากคำกรีก    agora    คือที่ชุมนุมของคนเมือง     (ภาษากรีกปัจจุบัน  agora แปลว่า  “ตลาด”)

ailurophobia



ทุกภาษา มักจะมีการยืมคำของภาษาอื่นมาใช้ เช่นในภาษาไทย   มีคำไทยแท้ คือ     “แมว”     แต่เราไปยืมคำ   “ชมา”     มาจากภาษาเขมร     และ   “วิฬาร์” 
มาจากภาษาบาลี       ในภาษาอังกฤษ    มีคำภาษาอังกฤษแท้         คือ     cat 
นอกจากนี้ไปยืมคำ      felis     จากภาษาละติน      และคำ    αουρος  
(ailouros  ไอลูรอส)         จากภาษากรีก                   ailurophobia  
จึงแปลว่า     “กลัวแมว”    คงไม่ใช่หนูที่เป็นโรคนี้     แต่มีคนบางคนที่ไม่ชอบแมวเอามากๆ    จนกระทั่งเกลียด    แล้วกลายเป็นกลัวในที่สุด


  โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ


วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า agoraphobia



agoraphobia



ศัพท์คล้ายๆ กัน   ที่เพิ่งผ่านมาคือ   agromania   ที่แปลตามตัวว่า  “บ้าหรือคลั่งไคล้ในสนาม”      แต่เพราะสนามเป็นที่โล่ง ที่แจ้ง      คำแปลของศัพท์นี้
จึงกลายเป็น   “บ้าหรือคลั่งไคล้ในที่โล่ง ที่แจ้ง”    คือคนที่อยู่ในที่แคบ ที่อับ
ไม่ได้     ศัพท์นี้มาจากภาษากรีก    γρός  (agros อะกรอส)  แปลว่า “สนาม”   ในเมืองใหญ่ของโลก  โดยเฉพาะทางซีกโลกตะวันตก เขาจะมีศูนย์กลางของเมือง        เป็นที่พบปะของคนทั่วๆ ไป ของนักปกครอง     ของ
ผู้บริหาร  เป็นที่ประชุม  เป็นที่ตั้งวิหาร  เป็นตลาดนัด  สถานเช่นนี้ในกรุงโรมเขาเรียกว่า   forum   (ภาษาละตินอ่านว่า   ฟอร-อุม   ภาษาอังกฤษ อ่านว่า ฟอรัม)     ในกรุงเอเธนส์ เขาเรียกว่า   γορά  (agora  อะโกรา) agora มีทุกอย่างของชีวิตคนเมืองในโบราณ ตั้งแต่ธุรกิจ การค้าขาย การเมือง การปกครอง การศาสนา กล่าวกันว่า คำ  δμοσκρατια  (demoskratia เดมอสคราทิอา)  หรือ democracy  เกิดขึ้นจากตรงนี้ agora   เป็นที่ๆ มีประชาชนเนื่องแน่นตลอดเวลา   agoraphobia  จึงหมายถึง   “กลัวที่ๆ มีคนมากมาย”   คือไม่อยากจะไปที่ๆ มีคนพลุกพล่าน


 โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ


วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า acrophobia

 ศัพท์ที่ท่านอาจจะไม่เคยเจอ

acrophobia

ในกรุงเอเธนส์          มีสิ่งก่อสร้างบนยอดภูเขาที่เป็นป้อมปราการ และวิหารของเทพเจ้า   ซึ่งมีความยิ่งใหญ่พอๆ กับสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทีเดียว   เขาเรียกสิ่งก่อสร้างเหล่านี้พร้อมกับพื้นที่ๆตั้งว่า    acropolis   ซึ่งแปลตามตัวว่า “เมืองสูง”   นั่นคือ   “เมืองที่ตั้งอยู่บนที่สูง”




                    
ท่านคงจะคุ้นกับภาษากรีก      πόλις    (polis พอลิส)           ที่แปลว่า 
“เมือง”         โดยที่ท่านจะคุ้นเคยกับคำว่า       methopolis    ที่แปลว่า 
“เมืองใหญ่”     politic    ที่แปลว่า    “การเมือง”      และศัพท์ที่เพิ่งผ่านมา
คือ   necropolis   ที่แปลว่า  “เมืองศพ”  คือ  “ป่าช้า”   เมื่อ  acropolis 
แปลตามตัวว่า     “เมืองสูง”    คือ    “เมืองที่ตั้งอยู่บนที่สูง”   หรือ   “เมืองที่ตั้ง
อยู่บนยอดภูเขา”     คำ   acro     จะต้องแปลว่า   “ที่สูง, ยอด”    คำภาษากรีก 
κρος   (akros  อครอส)     แปลว่า    “สูง, ยอด”     acrophobia
จึงแปลว่า   “กลัวความสูง”   คนเป็นโรคนี้   จะไม่กล้าขึ้นไปบนที่สูง   และเมื่ออยู่บนที่สูง    จะมองลงไปข้างล่างไม่ได้   ถ้ามองลงไปข้างล่างแล้ว  ขาจะสั่น หมดแรงที่จะยืนหรือเดิน




โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า phonophobia


phonophobia




เห็นศัพท์ตัวนี้แล้ว ขอให้ท่านนึกถึง         telephone     ซึ่งแปลตามตัวว่า 
“เสียง (มาจาก) ไกล”  คือ  “โทรศัพท์”  ภาษากรีก  τλε  ( tele  แปลว่า “ไกล”)      phonograph   ซึ่งแปลตามตัวว่า    “เสียงที่เขียนลงไป”   คือ 
“หีบเสียง”   (ภาษากรีก  γραφ  (graphe  กราเฟ)  แปลว่า “การเขียน”) ศัพท์ภาษากรีก          φωνή     (phoneโฟเน)        แปลว่า     เสียง”  
phonophobia     จึงแปลว่า   “กลัวเสียง”     คนเป็นโรคนี้ได้ยินเสียงดัง
ไม่ได้       และถ้าใครพูดเสียงดังด้วย ก็จะกลัว



 โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

ผ่าศัพท์ภาษาอังกฤษวันละคำสองคำ:อธิบายคำว่า neophobia

neophobia



ขอให้ท่านนึกถึงหลอดไฟ    neon      ซึ่งบรรจุก๊าซ    neon      ที่ค้นพบ
ในปี  ค.ศ. 1898     เข้าใจว่าท่านทั้งหลายคงรู้จักดี      อีกอย่างหนึ่ง เราก็ทราบ
กันดีว่า    neo    แปลว่า    “ใหม่”       เมื่อมีอะไรใหม่ๆ    เช่น มีการสร้าง
เมืองใหญ่เราก็เรียกเมืองใหม่นั้นว่า  Neo Town  หรือมีการเคลื่อนไหวอะไรบางอย่าง เช่น ในอินเดียมีคนฮินดูหลายแสนคนประกาศตนเป็นชาวพุทธ
พร้อมๆ กัน และเขาเรียกคณะของเขาว่า  neo - Buddhist  หรือ “ชาวพุทธใหม่”       ศัพท์ภาษากรีก    νέος  (neos เน ออส)      เป็นรูป masculine gender,          νεα     (nea เน อา)              เป็นรูป 
feminine gender         และ    νεον     (neon เน ออน)      เป็นรูป  
neuter gender    จาก   νέος   (neos)    ปรากฏรูปเป็น    neo  
ในภาษาอังกฤษ    และท่านก็ทราบด้วยว่า  ทำไมเขาเรียกหลอดไฟที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันว่า       หลอด   neon    ( เพราะเป็นสิ่งไม่มีชีวิต        เขาจึงใช้รูป 
neuter gender    เป็น   neon )            neophobia      จึงแปลว่า   
“กลัวของใหม่”   มีตัวอย่างให้เห็น   เช่น   เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว      ได้โปรดเกล้าให้สร้างโรงพยาบาลศิริราช     ปรากฏว่าไม่มีคน
ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนี้           จนกระทั่ง   ต้องประกาศให้เงินกับคนป่วย
ที่ไปรักษาตัวที่นี่       แสดงให้เห็นว่า    ในยุคนั้น           คนบางกอกเป็น         โรค     neophobia     กันมาก          จากศัพท์นี้    ท่านก็ได้ศัพท์ใหม่อีก    
3   คำ       คือ           neomania    บ้าหรือคลั่งไคล้ของใหม่,           neophil   ผู้รักของใหม่,    neophilism     โรคคลั่งของใหม่


โปรดติดตามศัพท์คำต่อไปนะครับ