ในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ซึ่งเวลานั้นถึงเวลานี้ ได้ผ่านไปแสนนานแล้ว ปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าจำไม่ได้ ว่ามีใครเป็นเพื่อนร่วมห้องเรียนของข้าพเจ้าบ้าง
พอขึ้นชั้นประถมปีที่ 2 ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้เช่นกันว่า มีใครเป็นเพื่อนนักเรียนร่วมห้องเรียนของข้าพเจ้าบ้าง แต่ก็จำชื่อได้อยู่ชื่อหนึ่ง เพื่อนร่วมห้องเรียนคนนี้ชื่อ “อาภรณ์” เหมือนกับชื่อของข้าพเจ้า
เพียงแต่เธอเป็นผู้หญิง ในขณะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ชาย พอขึ้นชั้นประถมปีที่ 3 เพื่อนนักเรียนนั้น
นอกจากเด็กหญิงที่ชื่อ “อาภรณ์” ที่เลื่อนชั้นขึ้นไปเรียนชั้นประถมปีที่ ๓ เหมือนกับข้าพเจ้าแล้ว
ยังมีเด็กผู้ชายอีกคนหนึ่ง ย้ายมาจากโรงเรียนอื่น เขาชื่อ “สมพร”
ซึ่งชื่อนี้ คล้ายกับชื่อ “อาภรณ์”
ของข้าพเจ้ามาก ทำให้ข้าพเจ้าจำชื่อนี้ได้ทันที และไม่ลืมจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
เมื่อเรียนวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทย ประเทศแบ่งเป็นกี่ภาค
และแต่ละภาคมีจังหวัดอะไรบ้าง ชื่อจังหวัดต่างๆ
นั้น ข้าพเจ้าต้องพยายามท่องจำ แต่มีชื่อจังหวัดอยู่จังหวัดหนึ่ง
ที่ข้าพเจ้าเจอชื่อครั้งแรกแล้วจำได้ทันที คือจังหวัด
“นครพนม” เพราะชื่อของจังหวัดนี้
มีคำว่า “พนม” ที่เป็นชื่อ
“พ่อ” ของข้าพเจ้า
ซึ่งข้าพเจ้าทราบอยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้ข้าพเจ้าจำชื่อจังหวัดนี้ได้ทันที และไม่เคยลืมเลย เหมือนกับที่ข้าพเจ้า ไม่เคยลืมชื่อพ่อของข้าพเจ้า
การที่ข้าพเจ้า ได้เรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ที่เป็น “คำ หรือมีบางพยางค์ของคำนั้น” เหมือนหรือคล้ายกับคำที่ข้าพเจ้าทราบอยู่ก่อนแล้ว เป็นขบวนการของธรรมชาติ ซึ่งนักจิตวิทยาทั่วไป
โดยเฉพาะนักจิตวิทยาด้านภาษาศาสตร์ ได้อธิบายไว้อย่างละเอียด คนอังกฤษเรียกขบวนการเรียนรู้แบบนี้ ด้วยคำพูดง่ายๆ ว่า “from known to unknown” แปลเป็นภาษาไทยว่า
“จากสิ่งที่รู้แล้ว ไปหาสิ่งที่ยังไม่รู้” ในภาษาละติน มีคำพูดที่เป็นพลังมากอยู่วลีหนึ่ง คือ “ab unus ad omnes” (อับ
อุนุส อัด ออมเนส) แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า
“from one to all” หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “จากหนึ่ง ถึงทั้งหมด” นั่นหมายความว่า เมื่อเรา “รู้” สิ่งหนึ่งแล้ว เราสามารถเรียนรู้
“สิ่งต่างๆ” ได้ทั้งหมด
ขอยกตัวอย่างสิ่งที่ใกล้ตัวอย่างหนึ่ง
คือเราคุ้นกับศัพท์สองคำ คือ “วานร” กับ “กินนร” ในขณะเดียวกัน เราทราบอยู่แล้วว่า
คำ “นร” แปลว่า “คน” ทีนี้มีคำถามว่า “วานร” กับ “กินนร” ที่มีคำ “นร” อยู่ด้วยทั้งสองคำ
มีความเกี่ยวข้องกับ “คน” อย่างไร ถ้ามีใครบอกเราว่า คำ “วา” เป็นภาษาบาลี
สันสกฤต “ va ”
แปลว่า “หรือ” และเราก็ทราบได้ทันทีว่าคำ
“วานร” แปลตามศัพท์ว่า
“คนหรือ” ( เพราะมันคล้ายกับคนมากจนมีคำถามว่า
“คนหรือ?” ) คนอินโดนีเซีย
เรียกลิงชนิดหนึ่ง ในประเทศของตนว่า “orangoutang” ซึ่งแปลตามตัวว่า “คนป่า”
orang แปลว่า คน utan แปลว่า ป่า และเช่นเดียวกัน คำ “กิม” เป็นภาษาบาลี สันสกฤต ikm(( แปลว่า “อะไร” เราก็ทราบได้ทันทีว่า
คำ “กินนร” แปลตามตัวว่า
“คนอะไร?” ( ikm( + nr (กิม+นร) เมื่อสองคำนี้มาสมาสกันตัว “น” ที่เป็นอักษรตัวแรกในพยางค์หลัง (นร) บังคับให้ตัว “ม”
ที่เป็นอักษรตัวหลังในพยางค์แรกเป็นตัว “น” เหมือนกับมัน “กิม+นร”
จึงกลายเป็น “กินนร”
ซึ่งภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน เช่น in+regular = irregular) และโดยทันทีเช่นเดียวกัน เราก็จะจำได้ว่า คำ “ va ” (วา) เป็นภาษาบาลี สันสกฤต แปลว่า “หรือ” และคำ ikm( (กิม)
เป็นภาษาบาลี สันสกฤต แปลว่า “อะไร” เพราะเราทราบศัพท์ ๒ คำนี้อยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ทราบว่า แปลว่าอะไร
เมื่อย้อนมาดูภาษาอังกฤษ สมมุติว่าเราได้ยินผู้ชายคนหนึ่ง
ที่เป็นพี่ชายคนโต พูดกับน้องชายคนเล็กที่กำลังกินไก่ทอดอยู่ว่า “แกนี่กินเอา
กินเอา กินไม่เลือกด้วย อ้วนจนจะเป็น “ฮิพโพ” อยู่แล้ว”
เราเพียงได้ยินแต่เสียงพูดโดยไม่เห็นตัวคนพูด และคนที่เขาพูดด้วย
(พวกเขาอยู่ในห้อง เราอยู่นอกห้อง) แต่สิ่งที่เราทราบอยู่ก่อนแล้ว คือตัว “ฮิพโพ”
หรือที่ชื่อเต็มของมันคือ “hippopotamus” เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำของทวีปแอฟริกา
คนไทยเรียกสัตว์ตัวนี้ว่า “ช้างน้ำ” เป็นสัตว์ที่ตัวอ้วนมาก
จากสิ่งที่เราทราบอยู่ก่อนแล้วนี้ ทำให้เราทราบสิ่งใหม่ได้ทันทีคือ 1,
ผู้พูดจะต้องเป็นคนไม่อ้วน หรือไม่อ้วนมากเหมือนกับคนที่เขาพูดด้วย เพราะถ้าเขาอ้วนมาก
เขาคงไม่กล้าตำหนิคนอื่นว่าอ้วน 2, คนที่เขาพูดด้วย จะต้องเป็นคนอ้วนมาก
และชอบทานอาหารที่ทานแล้วทำให้อ้วนด้วย
ศัพท์ที่เราทราบอยู่ก่อนแล้วคือ
hippopotamus และเราก็ทราบด้วยว่า
มันเป็นอะไร แต่เราไม่ทราบว่าศัพท์ตัวนี้ แปลตามตัวว่าอะไร
และเราเกิดอยากทราบความหมายของศัพท์ตัวนี้ เราก็ไปค้นหาความหมายของศัพท์ตัวนี้
ปรากฏว่าศัพท์ตัวนี้มาจากภาษากรีก เป็นคำสมาสของคำสองคำ
คือคำ “ἳππος ” (hippos ฮิพพอส) แปลว่า “ม้า” สมาสกับคำ “ποταμος” (potamos พอทามอส) แปลว่า “แม่น้ำ”
เราก็ได้ความรู้ใหม่ขึ้นมาทันทีว่าสัตว์ที่เราเรียกว่า “ช้างน้ำ” นั้น คนอังกฤษเรียกว่า
“ม้าแม่น้ำ” แต่ใช้ศัพท์ภาษากรีก และเราก็จำได้ทันทีว่า คำ “ ἳππος ” (hippos) เป็นภาษากรีก แปลว่า “ม้า” และคำ “ποταμός” (potamos) เป็นภาษากรีก แปลว่า “แม่น้ำ” ทั้งนี้เพราะเราทราบศัพท์สองคำนี้อยู่ก่อนแล้ว